ย้อนไปในช่วงดังกล่าว ก่อนเปิดฤดูกาลนั้น มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์จากทางผู้ผลิตหลายยี่ห้อเช่นกัน เพื่อเป็นทางเลือกแก่บรรดาทีมงบน้อยเหล่านี้ ซึ่งทางเลือกต่างๆ สามารถสรุปสั้นๆได้ดังนี้
1. เช่าเครื่อง Yamaha M1 Satellite spec ด้วยราคาราว 800,000 ยุโรต่อเครื่อง
2. ซื้อรถ Honda RCV1000R ที่ถอดแบบมาจากตัวจี๊ดอย่าง RC213V แต่ไม่มีนิวเมติกวาล์ว และซีมเลสเกียร์บ๊อกซ์ติดมาด้วย สนนราคาทั้งคันเพียง 1,200,000 ยูโร
3. ร่วมมือกับผู้ผลิตรายอื่นเช่น Apprilia BMW ในการสนับสนุนด้านเทคนิคและอุปกรณ์ อันนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงอีกที
ตัวแข่งของ อเลกซ์ เอสปากาโร่ สังกัด Forward Yamaha ที่เช่าเครื่อง YZR-M1 และมีข่าวว่ายังเช่าเฟรมกับช่วงล่างมาอีก
ตัวแข่งของ นิกกี้ เฮย์เด้น สังกัด Drive M7 Aspar ที่อุดหนุน RCV1000R
Forward Racing Team ที่ขี่โดย อเลกซ์ เอสปากาโร่ และ คอลิน เอ็ดเวิร์ด เลือกที่จะดำเนินตามทางเลือกแรก แม้จะมีหลายคนมองว่าแพงเมื่อเทียบกับทางเลือกอื่น
ในขณะที่มีทีมอิสระถึง 3 ทีมเลือกแพคเกจ RCV1000R จากค่ายปีกนกที่ดูเหมือนจะคุ้มค่าที่สุด ทีมดังกล่าว ประกอบไปด้วย
- ทีม GO&FUN Honda Gresini ที่มีดาวรุ่งอย่าง สก๊อด เรดดิ้ง
- ทีม Drive M7 Aspar ที่มี ฮิโรชิ โอนามะ และอดีตแชมป์โลกอย่าง นิกกี้ เฮย์เด้น และ
- ทีม Cardion AB Motoracing ที่มีลูกชายเจ้าของทีมอย่าง คาเรม อับราฮัม เป็นนักแข่ง
ทั้งนี้ ก่อนหน้าได้มีข้อมูลส่งเสริมการขายจากฮอนด้าอ้างว่าเจ้า RCV1000R ตัวนี้ ทำเวลาห่างจากตัวเทพสเปคโรงงานอย่าง RC213V เพียงแค่ 0.3 วินาทีต่อรอบ ซึ่งนั่นยิ่งทำให้ความคาดหวังของทีมเหล่านี้สูงขึ้นตามไปด้วย แต่เมื่อผ่านมาได้ 5 สนาม พวกเขาก็เริ่มเข้าใจแล้วว่า ของถูกและดีนั้น มันช่างหายากยิ่งกว่าการงมเข็มในมหาสมุทรแปซิฟิคเสียอีก เนื่องจากผลงาน RCV ของพวกเขากลับไม่เป็นดังที่ทางฮอนด้าโฆษณาไว้ เพราะจากการประเมิณเวลาเฉลี่ยที่ผ่านมาของนักแข่งหลายคนใน 5 สนามพบว่า มันช้ากว่าเวลาช้าที่สุดที่ทำได้โดย RC213V ถึง 0.73 วินาที!
จากคำให้การของนักบิดผู้ควบเจ้า RCV1000R นี้ ต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "รถมีอัตราเร่งที่ต่ำเกินไป" ซึ่งนั่นเป็นผลพวงมาจากการที่ยังใช้ระบบวาล์วสปริงนั่นเอง
หากเปรียบเทียบการทำงานของวาล์วสปริงกับวาล์วนิวเมติกแล้ว สิ่งที่ต่างกันชัดเจนที่สุด คือ จำนวนรอบเครื่องยนต์ ซึ่งพบว่าวาล์วแบบแรกทำได้เต็มที่ราว 15,000 rpm ในขนาดที่วาล์วนิวเมติกในปัจจุบัน สามารถเข็นรอบไปได้มากกว่า 19,000 rpm ได้สะบาย ซึ่งรอบเครื่องที่สูงขึ้น ส่งผลโดยตรงกับแรงม้าที่ผลิดออกมามากขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ นิวเมติกวาล์วนั้นให้การปิดเปิดวาล์วได้แบบฉับพลันซึ่งส่งผลต่อแรงบิดในช่วงรอบกลางๆเป็นอย่างมากอีกด้วย
เปรียบเทียบเทคโนโลยีกับตัวแข่งของ Forward (Yamaha) Team พบว่าเครื่องยนต์ที่เช่ามา เป็น M1 สเปคของเทคทรีเมื่อปีที่แล้ว เพราะได้ข่าวว่ายังไม่มี Seamless Gearbox เช่นกัน แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีระบบวาล์วแบบนิวเมติก ซึ่งถือเป็นของเล่นชิ้นสำคัญในยุคปัจจุบันนี้นอกจากนี้ยังมีข่าวลือมาให้ทีม "ฮอนด้าโอเพ่น" แอบอิจฉานิดๆว่าพวกเค้า เพิ่งได้เกียร์ใหม่มาติดเพิ่มอีกในสนามเลอมังที่ผ่านมานี้เอง (คาดว่าคงเป็น Seamless Gearbox นั่นแหละ) อย่างไรก็ดี จากผลงานการถีบตนเองขึ้นมาติดลมบนเป็นระยะๆของอเลกซ์ ก็บ่งบอกถึงความคุ้มค่าของเม็ดเงินที่จ่ายไปได้เป็นอย่างดี
มีข่าวว่า HRC ไม่ได้นิ่งเฉยกับเรื่องเหล่านี้ เพราะพวกเขาก็วางแผนจะปล่อยอุปกรณ์เทพที่ชื่อว่า"นิวเมติกวาล์ว"นี้ให้กับตัว RCV1000R ในปีหน้าเช่นกัน (แต่เกียร์ใหม่ต้องรอไปก่อน เพราะของเค้าซับซ้อนจริงๆ) โดยมองว่า ถ้ากติกาการใช้ Software ECU มาตรฐาน ถูกนำมาใช้จริงในปี 2016 เจ้าตัวแข่งลูกเมียน้อยอย่าง RCV1000R ที่ถูกบังคับใช้ ECU จากทางรายการมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว จะถือเป็นหนูลองยาสำหรับการเตรียมเจ้าตัวแข่ง RC213V สเปค 2016 อย่างแน่นอน ซึ่งในเรื่องนี้อาจเป็นสิ่งที่ทางยามาฮ่าได้พิจารณามาได้สักพักแล้วเช่นกัน จึงกล้าที่จะปล่อยเช่าขุมพลังที่คับคั่งไปด้วยเทคโนโลยีให้แก่ Forward Team
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น