World Of Warcraft, WoW Pointer 14

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติ MotoGP เป็นไงมั่ง?

เอาตั้งแต่ผมเริ่มดูนะครับ 10 กว่าปีที่แล้ว ย้อนมากกว่านั้น คงต้องขอเวลาไปอ่านมาอีกสักพักครับ

>> ปี 1998 - 2001 ช่วงนั้นยังใช้ชื่อว่า GP อยู่โดยใช้มอไซค์ 2 จังหวะ (ควันขโมง) ซึ่งมีแข่งทั้งหมด 3 รุ่นด้วยกัน คือ 125cc, 250cc และ 500cc ในขณะที่รายการเพื่อนบ้านอย่าง WSBK มีการแข่งโดยใช้รถ 4 จังหวะมานานแล้


>> ภายหลัง ปี 2002 เนื่องจากเทคโนโลยี 2 จังหวะเริ่มตัน บวกกับ การเริ่มไม่เป็นที่นิยมในตลาด ทางผู้จัดจึงอนุญาตให้ใช้รถ 4 จังหวะ ขนาดความจุ 990cc มาแทน รถ 2 จังหวะ 500cc เราจึงได้เห็นปรากฏการณ์การแข่งขันระหว่าง 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ ในปีนั้น เหตุผลของการใช้เครื่องไม่เกิน 990cc เนื่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้มีการแอบนำชิ้นส่วนจากเครื่องยนต์ 1,000cc ในท้องตลาดมาใช้นั่นเอง

>> ปี 2003 บังคับให้ทุกทีมเปลี่ยนเป็น 990cc 4 จังหวะหมด และเปลี่ยนชื่อรายการเป็น MotoGP อย่างเต็มตัว ในปีนั้นเอง Ducati ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ด้วยรถ Desmosedici GP3
>> ปี 2007 ทางคณะกรรมการเห็นว่ารถแข่งถูกพัฒนาให้เร็วขึ้นมากทุกๆปี อาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น เลยลงมติลดขนาดลงเหลือ 800cc ซะเลย แต่ที่ไหนได้ เจ้าตัวแข่งรุ่นใหม่นี้กลับถูกนำไปใช้ทำลายสถิติสนามเป็นว่าเล่น โดยเฉพาะจากฝีมือชายที่มีชื่อว่า Stoner (ปี 2008 เป็นปีที่มีการนำรถ 800cc ทำลายสถิติกันมากที่สุด)  โดยปัจุบันมีถึง 7 สนามที่สถิติ เหล่านี้ ยังคงอยู่ (Losail, Jerez, Estoril, Le Mans, Sachsenring, Phillips Iseland และ Shianghai)




>> ปี 2008-2009 ผู้สนับสนุนยางยักษ์ใหญ่อย่าง Dunlop และ Michelins ต่างถอนตัว เหลือเพียง Bridgestone ผู้เดียว และในปีเดียวกันนี้เอง Kawazaki ก็เริ่มถอยออกจาก MotoGP

>> ปี 2010 ทะยอยเปลี่ยนรุ่น 250cc ให้เป็น 600cc 4 จังหวะ 4สูบเรียง โดยทาง Honda เป็นผู้จัดเครื่องยนต์ให้ทีมต่างๆ เพื่อความเท่าเทียมกัน เรียกรายการใหม่นี้ว่า Moto2

>> ปี 2011 Suzuki ขอถอนตัวหลังจากไม่ประสบความสำเร็จมาหลายปี

>> ปี 2012 เนื่องจาก เหลือทีมที่แข่งกันจริงๆแค่ 3 ทีมคือ Honda, Yamaha และ Ducati ทางผู้จัดจึงได้เปลี่ยนกฏ เพิ่มขนาดเครื่องยนต์เป็น 1,000cc และอนุญาตทีมอิสระให้สามารถใช้เครื่องยนต์ที่มี ในท้องตลาดมาปรับแต่งได้ เพื่อลดต้นทุนในการทำทีม และไม่ให้จำนวนรถในสนามน้อยเกินไป (เดี๋ยวรายการจะล่มเอา) เรียกทีมเหล่านี้ว่า Claiming Rule Teams (CRT)

>> ปี 2013 เปลี่ยนกติกาการแข่งขันในรอบ Qualify ใหม่ ให้ดูซับซ้อนขึ้น แต่แฝงไว้ด้วยความตื่นเต้น

>> ปี 2014 Yamaha ได้ทำสัญญาผลิตเครื่อง YZR-M1 มอบให้ทีมแข่งทั่วไป ใครอยากได้มาเซ็นชื่อแล้วรับกลับบ้านไปได้เลย ทำให้ทีมอิสระ CRT ได้ขับเคี่ยวกับทีมผู้ผลิตอย่างดุเด็ดเผ็ดมันขึ้น โดยเฉพาะช่วงทางโค้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น